การเชื่อม เป็นอีกหนึ่งวิธีการในการเก็บรอยต่อ เป็นการใช้ความร้อนในการเชื่อม อาจจะทำให้เกิดโอกาสยุบ หรือพองตัว ทำให้ไม่สวยงาม อีกทั้งงานเชื่อมเป็นงานที่จำเป็นต้องใช้ทักษะ ความประณีต ความรอบคอบ ความอดทน และความคิดสร้างสรรค์ ด้วยเหตุนี้ช่างที่ทำงานเชื่อม หรือบริษัทที่รับงานเชื่อม จะต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเทคนิคการเชื่อม และวิธีการปฏิบัติงาน
- ท่าราบ (Flat Position) คือ ท่าเชื่อมมาตรฐาน โดยการเชื่อมชิ้นงานที่วางราบกับพื้น
- ท่าขนานนอน (Horizontal Position) คือ ท่าเชื่อมแนวนอน โดยการเชื่อมชิ้นงานที่วางขนานเป็นแนวตั้ง หรือผนัง (ข้อควรระวัง: การเชื่อมลักษณะนี้อาจจะทำให้เกิดรอยแหว่ง (Undercut) บริเวณด้านบนของรอยเชื่อม)
- ท่าตั้ง (Vertical Position) คือ ท่าเชื่อมแนวดิ่ง โดยการเชื่อมชิ้นงานที่วางขนานบนแนวตั้ง หรือผนัง คล้ายกับท่าเชื่อมขนานนอน (ข้อควรระวัง: การเชื่อมลักษณะนี้อาจจะทำให้เกิดรอยแหว่งตามทิศทางการเชื่อมขึ้น หรือลง)
- ท่าเหนือศีรษะ (Overhead) คือ ท่าเชื่อมชิ้นงานที่อยู่เหนือศีรษะ ถือว่าเป็นท่าที่ยากที่สุดสำหรับการเชื่อม เนื่องจากจะทำให้เกิดรอยแหว่งได้ง่าย อีกทั้งยังมีอันตรายที่เกิดจากสะเก็ดไฟ และเหล็กที่หลอมละลาย
ปัจจุบันอาคารบ้านเรือน โรงงานอุตสาหกรรม หรือแม้กระทั่งโกดังสินค้า นิยมหันมาใช้งานโครงสร้างที่ทำจากเหล็กมากขึ้น ทั้งในด้านของความแข็งแรง ความทนทาน โครงสร้างที่ทำจากเหล็กยังให้ความสวยงาม เหมาะกับงานดีไซน์ รูปแบบที่ทันสมัย รวมถึงประโยชน์จากพื้นที่ใช้สอยที่มากขึ้น ไม่มีเสา หรือคานโผล่ออกมารบกวน
อย่างไรก็ตามโครงสร้างที่ทำจากเหล็กนั้นมีสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้อยู่ และสิ่งนั้นคือ “รอยต่อ” ซึ่งวิธีการเก็บรอยต่อด้วยการเชื่อม มีรายละเอียด ดังนี้
- การเชื่อมรอยต่อชน (Butt Joint) คือ ลักษณะรอยต่อที่นำขอบ 2 ชิ้นมาประกบชนกัน โดยที่ชิ้นงานอยู่ในระนาบเดียวกัน ซึ่งรอยต่อลักษณะนี้เป็นรอยต่อทั่วไปที่ใช้ในการเชื่อมโครงสร้างและระบบท่อ
- การเชื่อมรอยต่อรูปตัวที (T Joint) คือ ลักษณะรอยต่อที่นำขอบของชิ้นงานนึงมาวางบนอีกชิ้นงานนึงโดยทำมุม 90 องศา ทำให้ขอบมารวมกันตรงกลางแผ่นเป็นรูปตัว “T”
- การเชื่อมรอยต่อมุม (Corner Joint) คือ ลักษณะรอยต่อที่นำขอบของชิ้นงานนึงมาวางบนอีกชิ้นงานนึงโดยทำมุม 90 องศาคล้ายกับการเชื่อมรอยต่อรูปตัว “T” แต่ตำแหน่งรอยต่อจะอยู่ตรงขอบมุม
- การเชื่อมรอยต่อเกย (Lap Joint) คือ ลักษณะการเชื่อมรอยต่อที่นำชิ้นงาน 2 ชิ้นมาวางซ้อนหรือเกยกัน มักใช้ในการต่อสองชิ้นที่มีความหนาต่างกันเข้าด้วยกัน สามารถทำได้ทั้งด้านเดียวหรือสองด้าน
- การเชื่อมรอยต่อขอบ (Edge Joint) คือ ลักษณะรอยต่อที่ให้ขอบของชิ้นงานทั้ง 2 ชิ้นชิด และขนานกันตลอดแนว หรือวางชิ้นงานเอียงทำมุมต่อกันและในการเชื่อมจะทำการเชื่อมที่ผิวหน้าของขอบงานให้ติดกัน ทำเพื่อกระจายแรงกด ที่ทำให้เกิดความเค้นในรอยเชื่อม