Skip to content
Home » โครงถัก (Truss Construction)

โครงถัก (Truss Construction)

               โครงถัก (Truss) คือการนำชิ้นส่วนหลายชิ้นมาประกอบกันเป็นรูปเลขาคณิต จนกลายเป็นโครงสร้างที่พากระหว่างจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง จุดเด่นของโครงถักคือโครงสร้างที่มีน้ำหนักเบา แต่สามารถรับน้ำหนักมาก อีกทั้งยังสามารถออกแบบรูปทรงให้สวยงามได้หลากหลายตามต้องการ โครงสร้างที่นิยมทำ ได้แก่ สะพาน และโครงหลังคา

               รูปทรงพื้นฐานของโครงถัก คือรูปสามเหลี่ยมที่มีการประกอบกันด้วยชิ้นส่วนอย่างน้อย 3 ชิ้น โดยยึดปลายทั้งสองต่อกันเพื่อส่งแรง โดยวิธีการยึดติดกันมีทั้งการเชื่อม และการใช้สลักเกลียว รูปทรงของพื้นฐาน (a) จะเป็นการยึดปลายต่อกันแบบจุดหมุน ซึ่งจะเป็นรูปทรงที่มีความเสถียรมากที่สุดถึงแม้จะมีแรงมากระทำ แต่ในขณะเดียวกัน (b) และ (c) เมื่อมีแรงมากระทำจะส่งผลให้โครงสร้างเกิดการเปลี่ยนรูปร่าง เป็นรูปทรงที่ไม่มีเสถียรภาพ

               โครงถัก (Truss) จะประกอบไปด้วยชิ้นส่วนหลายชิ้นมาประกอบรวมกัน ได้แก่

  1. จันทัน (Upper Chord) ทำหน้าที่รับแรงอัด
  2. ขื่อ (Lower Chord) ทำหน้าที่รับแรงดึง
  3. ค้ำยันในแนวดิ่ง (Vertical Web) ทำหน้าที่รับแรงอัด หรือแรงดึง แต่ขนาดเล็กกว่า และความสามารถน้อยกว่า จันทัน และ ขื่อ
  4. ค้ำยันในแนวเอียง (Diagonal Web) ทำหน้าที่รับแรงอัด หรือแรงดึง แต่ขนาดเล็กกว่า และความสามารถน้อยกว่า จันทัน และ ขื่อ

               รูปแบบของโครงถัก ที่นิยมนำมาใช้เป็นโครงสร้างหลังคามีรูปแบบที่หลากหลาย แต่ที่นิยมนิจะมีรูปแบบ ดังนี้

  1. โครงถักแบบโฮว์ (Howe Truss) คือ โครงถักที่จันทันเอียงเป็นจั่วทั้งสองข้างเท่าัน โดยขื่อจะอยู่ในแนวราบ มีท่อนยึดดิ่ง ระยะห่างเท่ากัน และมีท่อนยึดทแยงเอียงลงเข้าหากึ่งกลางช่วง โดยมีรูปร่างตามช่วงความยาวที่เพิ่มขึ้น
  2. โครงถักแบบโฮว์ยกระดับ (Howe Pitch) คือ โครงถักที่นำจันทันทั้ง 2 ข้างยกระดับขึ้นไปโดยไม่มีการเชื่อมติดกับขื่อ แต่ใช้การเชื่อมผ่านจุดค้ำยันแทน นิยมใช้กับโกดังเก็บสินค้า หรือโรงงาน
  3. โครงถักคอร์ดเอียงขนาน คือ โครงถักที่ขื่อเอียงกับจันทัน ทำให้มีช่องว่างความสูงเพิ่มมากขึ้น แบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ โครงถักแนวราบ (Flat Truss) และโครงถักแนวเอียง (Sloping Flat Truss)
  4. โครงถักแบบเอียงต่างมุม (Dual Pitch) คือ โครงถักที่มีลักษณะเอียงชันด้านหน้า แล้วลาดเทลงด้านหลัง นิยมใช้เป็นหลังคาอาคารตึกแแถว
Spread the love